หัวหน้าศูนย์ FTCDC LAB อ.อโณทัยเข้าลงพื้นที่กลุ่ม Hattra OTOP 5 ดาว จ.อุดรธานี โครงการ Circular design 2566

      เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565  อาจารย์อโณทัย สิงห์คำ อาจารย์ประจำสาขาออกเเบบผลิตภัณฑ์เเละหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พร้อมกับอาจารย์เบญจพร ครุฑกุล อาจารย์ประจำสาขาออกเเบบผลิตภัณฑ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  ได้ลงพื้นที่กลุ่ม Hattra  ต.หนองแหวง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี  ภายใต้กิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Circular design ปี 2566 

      ที่มาของสัญลักษณ์ของ “Hattra” คือมือที่มีพลังแห่งการสร้างสรรค์ และความประณีตบรรจงเป็นเสน่ห์ที่เครื่องจักรกลไม่อาจเทียบเท่าสองมือของเราได้ ผนวกเข้ากับความอบอุ่นจริงใจและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมกลายมาเป็นสินค้าที่มีความสวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และดีต่อสุขภาพของผู้สวมใส่

         ปัจจุบันทางกลุ่มมีการพัฒนาผ้าฝ้ายทอมือโดยร่วมกับทางศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC) ผสมผสานกรรมวิธีทอผ้าที่หลากหลาย จนกลายเป็นผ้าฝ้ายแกมไหมย้อมสีธรรมชาติ “เบญจวิถี” ซึ่งเป็นผ้าทอมือที่สวยงาม โดยใช้กรรมวิธี 5 เทคนิค ที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม ยังมีผลิตภัณฑ์รีไซเคิล100% โดยการเริ่มคัดแยกเศษจากการตัดเย็บ และเศษเหลือจากกระบวนการทอ เช่น เศษผ้าเป็นชิ้น เศษด้ายหัวม้วน เศษจากการตัดเย็บ ภายในการผลิตสินค้าของแบรนด์ สินค้าของทางกลุ่มนั้นได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ใน Thai Lifestyle Collection ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ และศรีวารี 

      กลุ่ม Hattra ถือว่าเป็นกลุ่มมีศักยภาพที่สามารถยันยืนสู่สากลได้โดยใช้การพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อขับเคลื่อนด้านการผลิต ด้านการใช้งาน ด้านการจัดการขยะ รวมทั้งด้านการออกแบบ โดยใส่นวัตกรรมที่มีกลไกของความยั่งยืนเข้าไปจะช่วยให้สินค้าทำงานได้ดีขึ้น ไม่ใช่แค่เป็นสินค้าสีเขียว แต่สร้างมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ได้ 

Tags: No tags

Comments are closed.