FTCDC LAB ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านดงสาร ครั้งที่ 2 จ.บึงกาฬ

        เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 อาจารย์เอกพันธ์ พิมพาที (อาจารย์ประจำสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์และผู้เชี่ยวชาญด้าน Circular design) ได้บรรยายเรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานการทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามหลัก Circular design tag โดยให้คำปรึกษาวิธีการ และหลักเกณฑ์มาตรฐานการทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามหลัก Circular design tag  เเละจัดกิจกรรม work shop ร่วมกับชุมชนผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเศษวัสดุเหลือใช้ โดยวิธีการทอผ้าแบบโบราณ การนำเศษผ้าหรือเศษวัสดุเหลือใช้ของทางกลุ่มมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

        โดยแนะนำการดีไซน์ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าที่นำมาต่อกัน ในการผลิตผลิตภัณฑ์ตามหลัก Circular design tag  ในเรื่องการออกแบบและการผลิต  โดยผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกแบบตามหลักการจะสามารถเพิ่มประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์  รวมทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์จะมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เช่น  ออกแบบให้สามารถถอดประกอบออกนำไปใช้ได้หลายรูปแบบให้รีไซเคิลได้ง่าย  ลักษณะผลิตภัณฑ์เป็นโมลดู  ออกแบบให้ใช้งานได้นานมีความร่วมสมัย  ออกแบบที่ใช้วัสดุน้อยแต่มีประโยชน์ใช้งานได้ดี เป็นต้น

หลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก CIRCULAR DESIGN TAG โดยศูนย์สร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ FTCDC

         ศูนย์สร้างสรรค์และออกแบบสิ่งทอ (FTCDC) ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาฉลากเซอคู ล่าร์ดีไซน์(CIRCULAR DESIGN TAG) หรือตราสัญลักษณ์รับรองผลิตภัณฑ์หรือวัสดุตามหลัก CIRCULAR เพื่อรองรับกับความต้องการของตลาดสู่การพัฒนาแบบหมุนเวียน  โดยจะมีคุณสมบัติที่  สามารถฟื้นคืนวัสดุกลับสู่รูปแบบเดิม  และสามารถคงทรัพยากรวัสดุที่อยู่ภายในระบบให้มีคุณภาพ และคุณค่าสูงสุด (Maximize Economic Value) หมุนเวียนเป็นวงจรต่อเนื่องเพื่อจะไม่มีของเสีย (Zero Waste to Landfill) หรือมีของเสียน้อยที่สุด ในฐานะหน่วยงานภาครัฐระดับมหาวิทยาลัย ได้ มีส่วนร่วมต่อแนวคิดนี้โดยการสนับสนุนชุมชนและกลุ่มแปรรูปสิ่งทอเครือข่าย ในโครงการปีที่ผ่านมา (งบประมาณปี 2564) โดยเข้าไป    มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบดูแลการพัฒนากระบวนการผลิตผ้าทอใน หมวดที่ต่างการออกไปตามความเป็นไปได้ของแต่ละกลุ่มชุมชน และผู้ประกอบการในชุมชน เล็งเห็น ความสําคัญและความเป็นไปได้ต่อสถานประกอบการของการพัฒนาตามแนวคิดดังกล่าวเศรษฐกิจ หมุนเวียน โดยตอบรับการเป็นผลิต(ชุมชน)และแปรรูป(SME)สิ่งทอที่ได้จากเศษเหลือทิ้งและเส้นใย ฝ้ายที่ผ่านการรีไซเคิล การเชื่อมโยงนี้ถือเป็นการพัฒนาต้นน้ำที่จะก่อให้เกิดการเติบโตที่เป็นไปได้ ในทางที่มีความสมดุลในทุกด้านไม่เพียงแต่เฉพาะด้านการจัดการวัสดุเหลือทิ้งเท่านั้น แต่ยังคํานึงถึง มิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

          โครงการฯ จัดให้มีตราสัญลักษณ์รับรองผลิตภัณฑ์หรือวัสดุตามหลัก CIRCULAR จำนวน 3 รูปแบบโดยแบ่ง ดังนี้ 1. ฉลากเศรษฐกิจหมุนเวียนเขียว 2. ฉลากเศรษฐกิจหมุนเวียนทอง 3. ฉลากเศรษฐกิจหมุนเวียนโรสโกลว์ ฉลากทั้ง 3 นี้ สามารถออกให้กับผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ตกแต่ง เคหะสิ่งทอ(Home Textile) เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ที่รองจาน ของที่ระลึก ที่ผ่านหลักเกณฑ์ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์และการตรวจสอบสถานที่ตามประกาศของโครงการฯ และได้รับการอนุมัติจาก คณะกรรมการกำกับโครงการฉลากเซอร์คู่ลาร์ (circular design tag)