FTCDC จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเส้นใยกัญชงผสมฝ้าย

      เมื่อวันที่ 20-21 พฤษภาคม 2566 ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเส้นใยกัญชงผสมฝ้าย เพื่อถ่ายทอดวิธีการทำเส้นใยฝ้ายผสมเส้นใยกัญชงสำหรับการนำมาพัฒนาเป็นแฟชั่นสิ่งทอ โดยมี ดร.วิบูล เป็นสุข รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ร่วมบรรยายให้ความรู้ และการฝึกปฏิบัติการสร้างเส้นใย การทอ และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆให้เเก่กลุ่มเครือข่าย โดย อ.อโณทัย สิงห์คำ และคณะนักออกแบบจากศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์และสิ่งทอ (FTCDC)

Asia Eastern University of Science and Technology (AEUST) X FTCDC

       ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์และสิ่งทอ (FTCDC) เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ได้ต้อนรับ Dr.Yi Jun Pan จาก Department of Materials and Textiles , Asia Eastern University of Science and Technology (AEUST) ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์และสิ่งทอ (FTCDC) โดยมี ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี ผศ.ดร.ธีระยุทธ์ เพ็งชัย รองอธิการบดีและประธาน FTCDC ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ ผู้เชี่ยวชาญเเละที่ปรึกษาของ FTCDC ให้การตอนรับ

       โดยทั้ง 2 มหาวิทยาลัยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบบริหารจัดการในประเด็นต่างๆ โดยจะมีการทำ MOU ในการร่วมมือทางวิชาการ การวิจัยด้านแฟชั่นสิ่งทอระหว่าง 2 ประเทศ โดยในเดือนกรกฏาคม 2566 ทาง AEUST จะส่งนักศึกษาจากไต้หวันเข้ามาศึกษาหลักสูตรระยะสั้นเป็นเวลา 4 สัปดาห์ จำนวน 9 คน และจะมีการแลกเปลี่ยน นศ แฟชั่นสิ่งทอ สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ ไปศึกษาระยะสั้นที่ไต้หวันเช่นกัน นอกจากนี้ทาง FTCDC ยังได้นำคณะจาก AEUST ชมการผลิตสิ่งทอชุมชน ในเครือข่ายการพัฒนาของ FTCDC ณ กลุ่มทอผ้าศูนย์การเรียนรู้ชุมชน อบต.เชียงยืน โดยมีนางสมพาน สาธิตและนำชม #วิเทศสัมพันธ์ #FTCDC #คิด #สร้างสรรค์ #พัฒนา #ยั่งยืน

FTCDC x TCDC จัดนิทรรศการนวัตกรรมเส้นใยอีสาน

               เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566 (Isan Creative Festival 2023) จัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษา ระหว่างวันที่ 1 – 9 เมษายน 2566 เวลา 11.00 – 21.00 น. ภายใต้ธีม “เติมเต็มถิ่นฐาน ตื่มบ้านตื่มเมือง” หรือ “Regional (enlight) sation”   เพื่อส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรสร้างสรรค์ทั่วภูมิภาคอีสาน พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและสังคม ด้วยการออกแบบ 

               นอกจากนี้ เทศกาลฯ มุ่งเน้นกิจกรรมที่สอดรับกับ 3 อุตสาหรรมสร้างสรรค์ที่โดดเด่นของอีสาน ได้แก่                                   1. อุตสาหกรรมบันเทิงอีสาน (Isan Entertainment)   2. อุตสาหกรรมอาหารอีสาน (Isan Gastronomy)  และ             3. อุตสาหกรรมงานหัตถกรรมอีสาน (Isan Craft & Design) ขณะเดียวกันยังเป็นแพลตฟอร์มต้นแบบในการพัฒนา  ‘ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์’ สู่การเป็น ‘เมืองสร้างสรรค์’ ในระดับประเทศ ที่ยกระดับภูมิภาคอีสานให้  ‘น่าอยู่ น่าลงทุน น่าท่องเที่ยว’ ส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้และโอกาสใหม่ทางธุรกิจ พร้อมผลักดันให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ผ่าน       6 กิจกรรมหลักของเทศกาลฯ จำนวนมากกว่า  100  โปรแกรม 

     สำหรับวันที่ 1-9 เมษายน 2566  เชิญชวนมาชมนวัตกรรมเส้นใยอีสาน จากทีมศูนย์สร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ FTCDC มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มาพบกับพวกเราได้ที่ ชุมชนเจ้าพ่อขุนภักดี ในงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์

#FTCDC #คิด #สร้างสรรค์ #พัฒนา #ยั่งยืน #ISANCREATIVEFESTIVAL #ศรีจันทร์ย่านเก่าเล่าใหม่

FTCDC ลงพื้นที่กลุ่ม Hattra อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 อ.อโณทัย สิงห์คำ และทีมงานจากศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ FTCDC ได้ลงพื้นที่กลุ่ม Hattra ต.หนองแวง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และติดตามการพัฒนาสิ่งทอนวัตกรรมสร้างสรรค์ภายใต้กิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Circular design ปี 2566 โดยมีคุณอิทธิพลและคุณอุไร ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ของกลุ่มสู่ตลาด โปรดติดตามผลงานเปิดตัวในงาน FiFt2023 กลางปีนี้แน่นอน

Summer edition udon fashion show 2023 X FTCDC

       Central Udon จัดเเคมเปญ Summer edition 2023 เพื่อตอกย้ำการเป็นเเลนด์มาร์กซัมเมอร์ดีที่สุดของอุดรธานี เนรมิตพื้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอุดร ในบรรยากาศชายทะเลกับกิจกรรม SUMMER EDITION Fashion Show 2023 ระหว่างวันที่ 24 – 26 มีนาคม 2566 บริเวณลานกิจกรรม ชั้น 1 หน้า Department Store ในบรรยากาศเเฟชั่น โชว์ริมชายทะเล เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยว ช่วยขับเคลื่อนเเละผลักดัน เพื่อสอดรับกับมาตรการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

       ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอจัดแสดงผลงานการพัฒนาสิ่งทอชุมชน Circular Design โดยอาจารย์อโณทัย สิงห์คำ จาก FTCDC และคุณอิทธิพล และคุณ อุไร สัจจะไพบูลย์ ตัวแทนผู้ประกอบการผ้าและสิ่งทอ กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติบ้านนางามและแบรน์ดหัตถา ซึ่งได้รับการถ่ายทอดการพัฒนาสิ่งทอ และได้รับการรับรอง Circular Design Mark จาก FTCDC ได้นำเสนอรายงานผลการพัฒนาสู่สินค้าสิ่งทอมูลค่าสูง กับท่านพลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ในโอกาสลงตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566  ณ โรงเรียนบ้านหนองบั่วประชาสรรค์ ตำบลสามพร้าว จังหวัดอุดรธานี

FTCDC LAB ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านดงสาร ครั้งที่ 2 จ.บึงกาฬ

        เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 อาจารย์เอกพันธ์ พิมพาที (อาจารย์ประจำสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์และผู้เชี่ยวชาญด้าน Circular design) ได้บรรยายเรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานการทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามหลัก Circular design tag โดยให้คำปรึกษาวิธีการ และหลักเกณฑ์มาตรฐานการทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามหลัก Circular design tag  เเละจัดกิจกรรม work shop ร่วมกับชุมชนผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเศษวัสดุเหลือใช้ โดยวิธีการทอผ้าแบบโบราณ การนำเศษผ้าหรือเศษวัสดุเหลือใช้ของทางกลุ่มมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

        โดยแนะนำการดีไซน์ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าที่นำมาต่อกัน ในการผลิตผลิตภัณฑ์ตามหลัก Circular design tag  ในเรื่องการออกแบบและการผลิต  โดยผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกแบบตามหลักการจะสามารถเพิ่มประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์  รวมทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์จะมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เช่น  ออกแบบให้สามารถถอดประกอบออกนำไปใช้ได้หลายรูปแบบให้รีไซเคิลได้ง่าย  ลักษณะผลิตภัณฑ์เป็นโมลดู  ออกแบบให้ใช้งานได้นานมีความร่วมสมัย  ออกแบบที่ใช้วัสดุน้อยแต่มีประโยชน์ใช้งานได้ดี เป็นต้น

หลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก CIRCULAR DESIGN TAG โดยศูนย์สร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ FTCDC

         ศูนย์สร้างสรรค์และออกแบบสิ่งทอ (FTCDC) ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาฉลากเซอคู ล่าร์ดีไซน์(CIRCULAR DESIGN TAG) หรือตราสัญลักษณ์รับรองผลิตภัณฑ์หรือวัสดุตามหลัก CIRCULAR เพื่อรองรับกับความต้องการของตลาดสู่การพัฒนาแบบหมุนเวียน  โดยจะมีคุณสมบัติที่  สามารถฟื้นคืนวัสดุกลับสู่รูปแบบเดิม  และสามารถคงทรัพยากรวัสดุที่อยู่ภายในระบบให้มีคุณภาพ และคุณค่าสูงสุด (Maximize Economic Value) หมุนเวียนเป็นวงจรต่อเนื่องเพื่อจะไม่มีของเสีย (Zero Waste to Landfill) หรือมีของเสียน้อยที่สุด ในฐานะหน่วยงานภาครัฐระดับมหาวิทยาลัย ได้ มีส่วนร่วมต่อแนวคิดนี้โดยการสนับสนุนชุมชนและกลุ่มแปรรูปสิ่งทอเครือข่าย ในโครงการปีที่ผ่านมา (งบประมาณปี 2564) โดยเข้าไป    มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบดูแลการพัฒนากระบวนการผลิตผ้าทอใน หมวดที่ต่างการออกไปตามความเป็นไปได้ของแต่ละกลุ่มชุมชน และผู้ประกอบการในชุมชน เล็งเห็น ความสําคัญและความเป็นไปได้ต่อสถานประกอบการของการพัฒนาตามแนวคิดดังกล่าวเศรษฐกิจ หมุนเวียน โดยตอบรับการเป็นผลิต(ชุมชน)และแปรรูป(SME)สิ่งทอที่ได้จากเศษเหลือทิ้งและเส้นใย ฝ้ายที่ผ่านการรีไซเคิล การเชื่อมโยงนี้ถือเป็นการพัฒนาต้นน้ำที่จะก่อให้เกิดการเติบโตที่เป็นไปได้ ในทางที่มีความสมดุลในทุกด้านไม่เพียงแต่เฉพาะด้านการจัดการวัสดุเหลือทิ้งเท่านั้น แต่ยังคํานึงถึง มิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

          โครงการฯ จัดให้มีตราสัญลักษณ์รับรองผลิตภัณฑ์หรือวัสดุตามหลัก CIRCULAR จำนวน 3 รูปแบบโดยแบ่ง ดังนี้ 1. ฉลากเศรษฐกิจหมุนเวียนเขียว 2. ฉลากเศรษฐกิจหมุนเวียนทอง 3. ฉลากเศรษฐกิจหมุนเวียนโรสโกลว์ ฉลากทั้ง 3 นี้ สามารถออกให้กับผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ตกแต่ง เคหะสิ่งทอ(Home Textile) เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ที่รองจาน ของที่ระลึก ที่ผ่านหลักเกณฑ์ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์และการตรวจสอบสถานที่ตามประกาศของโครงการฯ และได้รับการอนุมัติจาก คณะกรรมการกำกับโครงการฉลากเซอร์คู่ลาร์ (circular design tag)

เปิดตัวนิทรรศการ Circular design จาก FTCDC LAB X Hattra ในงาน “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”

       วันที่ 6 มกราคม 2566  เวลา 18.00 น. ที่มลฑาทิพย์ ฮอลล์ ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติจังหวัดอุดรธานี อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี อาจารย์อโณทัย  สิงห์คำ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  ร่วมจัดบูธเเสดงนิทรรศการ Circular design กับเเบรนด์ ‘Hattra’ นำทีมโดยคุณอุไร สัจจะไพบูลย์ ประธานกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติบ้านนางามจากอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  ในงาน  “การแสดงแบบผ้าไทยใส่ให้สนุก”  ซึ่งเป็นการประชุมสมาคมแม่บ้านมหาดไทยสัญจร ครั้งที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  2566 ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย พร้อมด้วย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกิจกรรม

      โดยมี ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร  ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ  เลย สกลนคร  สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกิจกรรม โดยมี สมาชิกแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดทั้ง 20 จังหวัด และภาคีเครือข่ายสมาคมแม่บ้านมหาดไทยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ร่วมแสดงแบบผ้าไทย

Cr.ข้อมูลจากบ้านเมือง

FTCDC LAB ร่วมกับดร.พีรพร พละพลีวัลย์ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านเชียง-ส.หงษ์แดง ภายใต้กิจกรรม Circular design 2566

         เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ที่ผ่านมา  ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ ผู้เชี่ยวชาญเเละที่ปรึกษาศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พร้อมทั้งนายเอกพันธ์ พิมพาทีอาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์  เเละทีมงานจากศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าและสิ่งทอ  (FTCDC LAB)  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ลงพื้นที่ครั้งที่ 2 สำหรับกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านเชียง-ส.หงษ์แดง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน  จ.อุดรธานี  มีจำนวนสมาชิกประมาณ 10-15 คน โดยมีประธานกลุ่มคือ  นายสมบัติ  มัญญะหงส์ เป็นผู้ประสานงาน  สำหรับกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม  Circular design  ปี  2566 เพื่อให้คำเเนะนำการดำเนินงาน การเลือกใช้วัตถุดิบหลักรวมทั้งการออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design 

        ชุมชนบ้านเชียงถือเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดอุดรธานี ตามรอยอารยธรรมบ้านเชียงในหมู่บ้านแห่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ มาชมวิถีชีวิตชาวไทพวนรูปแบบต่าง ๆ และกิจกรรมการท่องเที่ยวเสริมสร้างการเรียนรู้ถ่ายทอดโดยปราชญ์วัฒนธรรม  ดังนั้นขวดน้ำพลาสติกเมื่อนักท่องเที่ยวมาจึงมีความแปรผันกับจำนวนของนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน 

       ปัจจุบันมีการจัดการแยกขยะเพื่อนำขวดพลาสติกดังกล่าวไปขายสร้างรายได้ หรือแยกขยะไว้สำหรับรีไซเคิลทางด้านต่างๆ  ทางคณะทำงานได้เเลกเปลี่ยนความรู้ เรื่องหลักการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จากของเสีย โดยลดการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับชุมชนเเล้ว ทางกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านเชียง-ส.หงษ์แดงมีความสนใจในการ  นำโอกาสเรื่องดังกล่าวมาเป็นเป้าหมายของกลุ่มในการนำนวัตกรรมการทำเส้นใยพลาสติกจากขวดพลาสติกมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์ สอดคล้องกับเเนวคิด Circular design เพื่อให้เป็นสิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเเละยกระดับผ้าทอได้อย่างยั่งยืน

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ :  086-2217268 (คุณสมบัติ)