FTCDC จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเส้นใยกัญชงผสมฝ้าย

      เมื่อวันที่ 20-21 พฤษภาคม 2566 ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเส้นใยกัญชงผสมฝ้าย เพื่อถ่ายทอดวิธีการทำเส้นใยฝ้ายผสมเส้นใยกัญชงสำหรับการนำมาพัฒนาเป็นแฟชั่นสิ่งทอ โดยมี ดร.วิบูล เป็นสุข รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ร่วมบรรยายให้ความรู้ และการฝึกปฏิบัติการสร้างเส้นใย การทอ และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆให้เเก่กลุ่มเครือข่าย โดย อ.อโณทัย สิงห์คำ และคณะนักออกแบบจากศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์และสิ่งทอ (FTCDC)

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ : FTCDC

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ : FTCDC  เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566  คณะทีมงานได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ : FTCDC โดยมี ผศ.ดร.ธีระยุทธ์ เพ็งชัย (ประธาน FTCDC) รศ.นาวา วงษ์พรม (หัวหน้าพิพิธภัณฑ์ผ้าอีสาน) เเละ อ.อโณทัย สิงห์คำ (หัวหน้า FTCDC LAB) บรรยายสรุปและนำชมโดยทีมงาน FTCDC เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาสิ่งทอชุมชนด้วยนวัตกรรม เยี่ยมชมนิทรรศการงานวิจัยแฟชั่น สิ่งทอของนักศึกษาสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ ชม Desing Shop ซึ่งรวบรวมสินค้าจากศูนย์เเละชุมชนเครือข่าย และห้องปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์เส้นใยสิ่งทอของ FTCDC #คิด #สร้างสรรค์ #พัฒนา #ยั่งยืน

คณะวิทยาการจัดการ จัดทำโครงการนวัตกรรม การสื่อสาร สร้างสรรค์ เพื่อชุมชนและสังคมโดยร่วมมือกับศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ(FTCDC)

           โครงการนวัตกรรม การสื่อสาร สร้างสรรค์ เพื่อชุมชนและสังคม (MC) เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566 ณ อาคารศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ(FTCDC) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผศ.ดร. พนา ดุลยพัชร์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ส่งมอบขวดพลาสติกภายใต้โครงการนวัตกรรม การสื่อสาร สร้างสรรค์ เพื่อชุมชนและสังคม สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด คณะวิทยาการจัดการ โดยมี ผศ.ดร. ธีระยุทธ์ เพ็งชัย รองอธิการบดีและประธานศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ FTCDC พร้อมด้วย ดร.วิบูล เป็นสุข รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี และทีมงานศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ FTCDC รับมอบขวดพลาสติกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน : นวัตกรรมสิ่งทอจากขวดพลาสติกรีไซเคิล มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี โดยการจัดทำโครงการในครั้งนี้ มีแนวทางการพัฒนาภายใต้แนวคิด BCG ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการทำงานร่วมกับภาคชุมชน และภาคเอกชน ทางศูนย์ FTCDC ได้มีการนำขวดน้ำดื่มพลาสติกมารีไซเคิลเป็นเส้นใย และถักทอเป็นเครื่องแต่งกายเสื้อผ้า เสื้อยืด กระเป๋า และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรวบรวมขวดพลาสติก ในการนำไปรีไซเคิลเป็นเส้นใยสำหรับแปรรูปต่อไป

FTCDC LAB ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านดงสาร ครั้งที่ 2 จ.บึงกาฬ

        เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 อาจารย์เอกพันธ์ พิมพาที (อาจารย์ประจำสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์และผู้เชี่ยวชาญด้าน Circular design) ได้บรรยายเรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานการทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามหลัก Circular design tag โดยให้คำปรึกษาวิธีการ และหลักเกณฑ์มาตรฐานการทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามหลัก Circular design tag  เเละจัดกิจกรรม work shop ร่วมกับชุมชนผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเศษวัสดุเหลือใช้ โดยวิธีการทอผ้าแบบโบราณ การนำเศษผ้าหรือเศษวัสดุเหลือใช้ของทางกลุ่มมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

        โดยแนะนำการดีไซน์ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าที่นำมาต่อกัน ในการผลิตผลิตภัณฑ์ตามหลัก Circular design tag  ในเรื่องการออกแบบและการผลิต  โดยผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกแบบตามหลักการจะสามารถเพิ่มประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์  รวมทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์จะมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เช่น  ออกแบบให้สามารถถอดประกอบออกนำไปใช้ได้หลายรูปแบบให้รีไซเคิลได้ง่าย  ลักษณะผลิตภัณฑ์เป็นโมลดู  ออกแบบให้ใช้งานได้นานมีความร่วมสมัย  ออกแบบที่ใช้วัสดุน้อยแต่มีประโยชน์ใช้งานได้ดี เป็นต้น

เปิดตัวนิทรรศการ Circular design จาก FTCDC LAB X Hattra ในงาน “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”

       วันที่ 6 มกราคม 2566  เวลา 18.00 น. ที่มลฑาทิพย์ ฮอลล์ ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติจังหวัดอุดรธานี อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี อาจารย์อโณทัย  สิงห์คำ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  ร่วมจัดบูธเเสดงนิทรรศการ Circular design กับเเบรนด์ ‘Hattra’ นำทีมโดยคุณอุไร สัจจะไพบูลย์ ประธานกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติบ้านนางามจากอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  ในงาน  “การแสดงแบบผ้าไทยใส่ให้สนุก”  ซึ่งเป็นการประชุมสมาคมแม่บ้านมหาดไทยสัญจร ครั้งที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  2566 ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย พร้อมด้วย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกิจกรรม

      โดยมี ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร  ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ  เลย สกลนคร  สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกิจกรรม โดยมี สมาชิกแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดทั้ง 20 จังหวัด และภาคีเครือข่ายสมาคมแม่บ้านมหาดไทยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ร่วมแสดงแบบผ้าไทย

Cr.ข้อมูลจากบ้านเมือง

FTCDC LAB ร่วมออกบูธนิทรรศการ Circular design ในงาน One Province One Product

        เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 ศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้ร่วมจัดบูธนิทรรศการ Circular design ร่วมกับสมาคมเเม่บ้านตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี โดยมี คุณสุมนา กิตติประภัสร์ นายกสมาคมเเม่บ้านตำรวจให้เกียรติมาเป็นประธานในงานครั้งนี้ ณ ตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ตามกำหนดการตรวจเยี่ยมเเละพิจารณาคัดเลือกผลิตภัณฑ์สินค้า ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต 1 จังหวัด 1 ผลิตภัณฑ์ (One Province One Product : OPOP) ของเเม่บ้านตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรภาค 4 

FTCDC LAB ร่วมกับดร.พีรพร พละพลีวัลย์ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านเชียง-ส.หงษ์แดง ภายใต้กิจกรรม Circular design 2566

         เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ที่ผ่านมา  ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ ผู้เชี่ยวชาญเเละที่ปรึกษาศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พร้อมทั้งนายเอกพันธ์ พิมพาทีอาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์  เเละทีมงานจากศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าและสิ่งทอ  (FTCDC LAB)  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ลงพื้นที่ครั้งที่ 2 สำหรับกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านเชียง-ส.หงษ์แดง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน  จ.อุดรธานี  มีจำนวนสมาชิกประมาณ 10-15 คน โดยมีประธานกลุ่มคือ  นายสมบัติ  มัญญะหงส์ เป็นผู้ประสานงาน  สำหรับกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม  Circular design  ปี  2566 เพื่อให้คำเเนะนำการดำเนินงาน การเลือกใช้วัตถุดิบหลักรวมทั้งการออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design 

        ชุมชนบ้านเชียงถือเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดอุดรธานี ตามรอยอารยธรรมบ้านเชียงในหมู่บ้านแห่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ มาชมวิถีชีวิตชาวไทพวนรูปแบบต่าง ๆ และกิจกรรมการท่องเที่ยวเสริมสร้างการเรียนรู้ถ่ายทอดโดยปราชญ์วัฒนธรรม  ดังนั้นขวดน้ำพลาสติกเมื่อนักท่องเที่ยวมาจึงมีความแปรผันกับจำนวนของนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน 

       ปัจจุบันมีการจัดการแยกขยะเพื่อนำขวดพลาสติกดังกล่าวไปขายสร้างรายได้ หรือแยกขยะไว้สำหรับรีไซเคิลทางด้านต่างๆ  ทางคณะทำงานได้เเลกเปลี่ยนความรู้ เรื่องหลักการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จากของเสีย โดยลดการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับชุมชนเเล้ว ทางกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านเชียง-ส.หงษ์แดงมีความสนใจในการ  นำโอกาสเรื่องดังกล่าวมาเป็นเป้าหมายของกลุ่มในการนำนวัตกรรมการทำเส้นใยพลาสติกจากขวดพลาสติกมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์ สอดคล้องกับเเนวคิด Circular design เพื่อให้เป็นสิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเเละยกระดับผ้าทอได้อย่างยั่งยืน

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ :  086-2217268 (คุณสมบัติ)

ดร.พีรพร ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านเชียงหวาง จ.อุดรธานีร่วมกับ FTCDC LAB มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

          เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ ผู้เชี่ยวชาญเเละที่ปรึกษาศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พร้อมทั้งอาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์  เเละทีมงานจากศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าและสิ่งทอ  (FTCDC LAB)  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ลงพื้นที่่กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านเชียงหวาง  ต.เชียงหวาง อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี   โดยมีประธานกลุ่มคือ  นางสาววิมล  เเก้วเชียงหวาง เป็นผู้ประสานงาน  สำหรับกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม  Circular design  ปี  2566 

        โดย  ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายเเละเเลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเทคนิคการออกเเบบ        หลักการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จากของเสีย  รวมทั้ง ตามเเนวคิดเชิงนิเวศเศรษฐกิจ  Circular design tag เพื่อให้คำเเนะนำการดำเนินงาน การเลือกใช้วัตถุดิบหลักรวมทั้งการออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design 

FTCDC LAB ลงพื้นที่กลุ่ม ITTHI จ.บึงกาฬ กิจกรรม Circular design 2566

      เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2565 ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ วิทยากรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเเละที่ปรึกษาหลักการเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนให้มีมาตรฐานการรับรองตามเเนวคิดเชิง Circular design พร้อมทั้งนายเอกพันธ์ พิมพาทีอาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์  เเละทีมงานจากศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าและสิ่งทอ  (FTCDC LAB)  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  ลงพื้นที่กลุ่ม ITTHI (กลุ่มผ้าทอสองมือพิมพ์เเละกลุ่มสไบนาง)  ต.หอคำ  อ.เมือง  จ.บึงกาฬ  โดยมีประธานกลุ่มคือ นายอิทธิกร  อินทร์เเสงเเละ นางเสถียร ชัยมี เป็นผู้ประสานงาน  สำหรับกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม  Circular design  ปี  2566 เพื่อสังเกตการณ์การดำเนินงานของกลุ่ม  พร้อมเก็บข้อมูลเเละให้ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design ซึ่งมีความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

       ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายเเละเเลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเทคนิคการออกเเบบ หลักการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จากของเสีย  โดยลดการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับชุมชน ตามเเนวคิดเชิงนิเวศเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีการพัฒนาขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาซึ่งได้รับการพัฒนายุทธศาสตร์สอดคล้องกับแนวทางในประเทศเเละหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design tag การตรวจสอบผลิตภัณฑ์และหลักเกณฑ์การตรวจผลิตภัณฑ์เพื่อให้กลุ่ม ITTHI (กลุ่มผ้าทอสองมือพิมพ์เเละกลุ่มสไบนาง) ได้เรียนรู้ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาเเละยกระดับผ้าทอ อีกทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนอย่างยั่งยืน

เบอร์โทรติดต่อ : 063-7266269 (คุณอิทธิกร)

FTCDC LAB ลงพื้นที่กลุ่มทอเสื่อกกบ้านแม่นนท์ฯ ร่วมกับ ดร.พีรพร ภายใต้โครงการ Circular design 2566

     เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 อาจารย์อโณทัย สิงห์คำ อาจารย์ประจำสาขาออกเเบบเเละหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าและสิ่งทอ  (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีร่วมกับ ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ วิทยากรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเเละที่ปรึกษาหลักการเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนให้มีมาตรฐานการรับรองตามเเนวคิดเชิง Circular design  ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอเสื่อกกบ้านแม่นนท์  ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี  โดยมีประธานกลุ่มคือ นางอ้อยอัจฉรา สรวงศิริ เป็นผู้ประสานงาน  สำหรับกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม  Circular design  ปี  2566 เพื่อสังเกตการณ์การดำเนินงานของกลุ่ม  พร้อมเก็บข้อมูลเเละให้ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design ซึ่งมีความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

       ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายเเละเเลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเทคนิคการออกเเบบ หลักการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จากของเสีย โดยลดการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับชุมชน ภายใต้เเนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน  (Circular Economy)  เเละหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design tag            การตรวจสอบผลิตภัณฑ์และหลักเกณฑ์การตรวจผลิตภัณฑ์เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอเสื่อกกบ้านแม่นนท์ได้เรียนรู้ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาเเละยกระดับเคหะสิ่งทอ ผ้าทอเพื่อนเพิ่มมูลค่าให้เเก่ผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน