FTCDC LAB ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านดงสาร ครั้งที่ 2 จ.บึงกาฬ

        เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 อาจารย์เอกพันธ์ พิมพาที (อาจารย์ประจำสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์และผู้เชี่ยวชาญด้าน Circular design) ได้บรรยายเรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานการทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามหลัก Circular design tag โดยให้คำปรึกษาวิธีการ และหลักเกณฑ์มาตรฐานการทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามหลัก Circular design tag  เเละจัดกิจกรรม work shop ร่วมกับชุมชนผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเศษวัสดุเหลือใช้ โดยวิธีการทอผ้าแบบโบราณ การนำเศษผ้าหรือเศษวัสดุเหลือใช้ของทางกลุ่มมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

        โดยแนะนำการดีไซน์ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าที่นำมาต่อกัน ในการผลิตผลิตภัณฑ์ตามหลัก Circular design tag  ในเรื่องการออกแบบและการผลิต  โดยผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกแบบตามหลักการจะสามารถเพิ่มประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์  รวมทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์จะมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เช่น  ออกแบบให้สามารถถอดประกอบออกนำไปใช้ได้หลายรูปแบบให้รีไซเคิลได้ง่าย  ลักษณะผลิตภัณฑ์เป็นโมลดู  ออกแบบให้ใช้งานได้นานมีความร่วมสมัย  ออกแบบที่ใช้วัสดุน้อยแต่มีประโยชน์ใช้งานได้ดี เป็นต้น

FTCDC จัดพิธีบวงสรวงพระพิฆเนศ โดย พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ

      เมื่อ 13 มกราคม 2566 ศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอได้จัดพิธีบวงสรวงพระพิฆเนศ  (พระสุริยสุทธิปวรศิลป์มหาคเณศ)  ซึ่งมีความหมาย คือ เทพผู้เป็นเจ้าอันประเสริฐ งดงาม บริสุทธิ์  ดุจแสงสว่างแห่งพระอาทิตย์ โดย พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล) ณ ลานพระพิฆเนศ ด้านหน้าศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ : FTCDC มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เพื่อให้เป็นสถานที่สักการะของนักศึกษา บุคลากร และผู้ศรัทธาทั่วไป

หลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก CIRCULAR DESIGN TAG โดยศูนย์สร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ FTCDC

         ศูนย์สร้างสรรค์และออกแบบสิ่งทอ (FTCDC) ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาฉลากเซอคู ล่าร์ดีไซน์(CIRCULAR DESIGN TAG) หรือตราสัญลักษณ์รับรองผลิตภัณฑ์หรือวัสดุตามหลัก CIRCULAR เพื่อรองรับกับความต้องการของตลาดสู่การพัฒนาแบบหมุนเวียน  โดยจะมีคุณสมบัติที่  สามารถฟื้นคืนวัสดุกลับสู่รูปแบบเดิม  และสามารถคงทรัพยากรวัสดุที่อยู่ภายในระบบให้มีคุณภาพ และคุณค่าสูงสุด (Maximize Economic Value) หมุนเวียนเป็นวงจรต่อเนื่องเพื่อจะไม่มีของเสีย (Zero Waste to Landfill) หรือมีของเสียน้อยที่สุด ในฐานะหน่วยงานภาครัฐระดับมหาวิทยาลัย ได้ มีส่วนร่วมต่อแนวคิดนี้โดยการสนับสนุนชุมชนและกลุ่มแปรรูปสิ่งทอเครือข่าย ในโครงการปีที่ผ่านมา (งบประมาณปี 2564) โดยเข้าไป    มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบดูแลการพัฒนากระบวนการผลิตผ้าทอใน หมวดที่ต่างการออกไปตามความเป็นไปได้ของแต่ละกลุ่มชุมชน และผู้ประกอบการในชุมชน เล็งเห็น ความสําคัญและความเป็นไปได้ต่อสถานประกอบการของการพัฒนาตามแนวคิดดังกล่าวเศรษฐกิจ หมุนเวียน โดยตอบรับการเป็นผลิต(ชุมชน)และแปรรูป(SME)สิ่งทอที่ได้จากเศษเหลือทิ้งและเส้นใย ฝ้ายที่ผ่านการรีไซเคิล การเชื่อมโยงนี้ถือเป็นการพัฒนาต้นน้ำที่จะก่อให้เกิดการเติบโตที่เป็นไปได้ ในทางที่มีความสมดุลในทุกด้านไม่เพียงแต่เฉพาะด้านการจัดการวัสดุเหลือทิ้งเท่านั้น แต่ยังคํานึงถึง มิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

          โครงการฯ จัดให้มีตราสัญลักษณ์รับรองผลิตภัณฑ์หรือวัสดุตามหลัก CIRCULAR จำนวน 3 รูปแบบโดยแบ่ง ดังนี้ 1. ฉลากเศรษฐกิจหมุนเวียนเขียว 2. ฉลากเศรษฐกิจหมุนเวียนทอง 3. ฉลากเศรษฐกิจหมุนเวียนโรสโกลว์ ฉลากทั้ง 3 นี้ สามารถออกให้กับผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ตกแต่ง เคหะสิ่งทอ(Home Textile) เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ที่รองจาน ของที่ระลึก ที่ผ่านหลักเกณฑ์ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์และการตรวจสอบสถานที่ตามประกาศของโครงการฯ และได้รับการอนุมัติจาก คณะกรรมการกำกับโครงการฉลากเซอร์คู่ลาร์ (circular design tag)

เปิดตัวนิทรรศการ Circular design จาก FTCDC LAB X Hattra ในงาน “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”

       วันที่ 6 มกราคม 2566  เวลา 18.00 น. ที่มลฑาทิพย์ ฮอลล์ ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติจังหวัดอุดรธานี อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี อาจารย์อโณทัย  สิงห์คำ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  ร่วมจัดบูธเเสดงนิทรรศการ Circular design กับเเบรนด์ ‘Hattra’ นำทีมโดยคุณอุไร สัจจะไพบูลย์ ประธานกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติบ้านนางามจากอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  ในงาน  “การแสดงแบบผ้าไทยใส่ให้สนุก”  ซึ่งเป็นการประชุมสมาคมแม่บ้านมหาดไทยสัญจร ครั้งที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  2566 ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย พร้อมด้วย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกิจกรรม

      โดยมี ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร  ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ  เลย สกลนคร  สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกิจกรรม โดยมี สมาชิกแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดทั้ง 20 จังหวัด และภาคีเครือข่ายสมาคมแม่บ้านมหาดไทยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ร่วมแสดงแบบผ้าไทย

Cr.ข้อมูลจากบ้านเมือง

FTCDC LAB ร่วมออกบูธนิทรรศการ Circular design ในงาน One Province One Product

        เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 ศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้ร่วมจัดบูธนิทรรศการ Circular design ร่วมกับสมาคมเเม่บ้านตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี โดยมี คุณสุมนา กิตติประภัสร์ นายกสมาคมเเม่บ้านตำรวจให้เกียรติมาเป็นประธานในงานครั้งนี้ ณ ตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ตามกำหนดการตรวจเยี่ยมเเละพิจารณาคัดเลือกผลิตภัณฑ์สินค้า ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต 1 จังหวัด 1 ผลิตภัณฑ์ (One Province One Product : OPOP) ของเเม่บ้านตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรภาค 4