แฟชั่นโชว์ผลงาน Thesis สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

แฟชั่นโชว์ผลงาน Thesis จากพลังการสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ ณ ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ : FTCDC มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ชมผลงานได้วันที่ 7-9 มีนาคม 2565 ณ ห้องนิทรรศการศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ : FTCDCพร้อมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จาก FTCDC Design Shop

คณะวิทยาการจัดการ จัดทำโครงการนวัตกรรม การสื่อสาร สร้างสรรค์ เพื่อชุมชนและสังคมโดยร่วมมือกับศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ(FTCDC)

           โครงการนวัตกรรม การสื่อสาร สร้างสรรค์ เพื่อชุมชนและสังคม (MC) เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566 ณ อาคารศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ(FTCDC) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผศ.ดร. พนา ดุลยพัชร์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ส่งมอบขวดพลาสติกภายใต้โครงการนวัตกรรม การสื่อสาร สร้างสรรค์ เพื่อชุมชนและสังคม สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด คณะวิทยาการจัดการ โดยมี ผศ.ดร. ธีระยุทธ์ เพ็งชัย รองอธิการบดีและประธานศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ FTCDC พร้อมด้วย ดร.วิบูล เป็นสุข รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี และทีมงานศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ FTCDC รับมอบขวดพลาสติกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน : นวัตกรรมสิ่งทอจากขวดพลาสติกรีไซเคิล มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี โดยการจัดทำโครงการในครั้งนี้ มีแนวทางการพัฒนาภายใต้แนวคิด BCG ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการทำงานร่วมกับภาคชุมชน และภาคเอกชน ทางศูนย์ FTCDC ได้มีการนำขวดน้ำดื่มพลาสติกมารีไซเคิลเป็นเส้นใย และถักทอเป็นเครื่องแต่งกายเสื้อผ้า เสื้อยืด กระเป๋า และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรวบรวมขวดพลาสติก ในการนำไปรีไซเคิลเป็นเส้นใยสำหรับแปรรูปต่อไป

เปิดตัวนิทรรศการ Circular design จาก FTCDC LAB X Hattra ในงาน “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”

       วันที่ 6 มกราคม 2566  เวลา 18.00 น. ที่มลฑาทิพย์ ฮอลล์ ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติจังหวัดอุดรธานี อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี อาจารย์อโณทัย  สิงห์คำ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  ร่วมจัดบูธเเสดงนิทรรศการ Circular design กับเเบรนด์ ‘Hattra’ นำทีมโดยคุณอุไร สัจจะไพบูลย์ ประธานกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติบ้านนางามจากอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  ในงาน  “การแสดงแบบผ้าไทยใส่ให้สนุก”  ซึ่งเป็นการประชุมสมาคมแม่บ้านมหาดไทยสัญจร ครั้งที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  2566 ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย พร้อมด้วย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกิจกรรม

      โดยมี ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร  ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ  เลย สกลนคร  สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกิจกรรม โดยมี สมาชิกแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดทั้ง 20 จังหวัด และภาคีเครือข่ายสมาคมแม่บ้านมหาดไทยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ร่วมแสดงแบบผ้าไทย

Cr.ข้อมูลจากบ้านเมือง

FTCDC LAB จัด workshop การทอผ้าร่วมกับ The LOOM

     เมื่อวันที่ 14 – 15 ธันวาคม 2565 ทางศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี นำทีมโดย ผศ.ดร.ธีระยุทธ์ เพ็งชัย ประธานศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC) อาจารย์อโณทัย สิงห์คำ เเละอาจารย์เอกพันธ์  พิมพาที อาจารย์ประจำสาขาออกเเบบผลิตภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรม workshop ร่วมกับ The LOOM ในการทอผ้าจากกี่สำเร็จรูป การออกเเบบลักษณะเส้นด้ายจาก E Spinner 3 ที่เป็นเครื่องปั่นด้ายขนาดเล็กแบบใช้ไฟฟ้าที่สามารถปั่นเส้นใยต่างๆ ให้เป็นเส้นด้าย ให้เเก่นักศึกษาสาขาออกเเบบผลิตภัณฑ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

FTCDC LAB X สาขาสิ่งแวดล้อม คณะวิทย์ฯ มร.อด.จัดนิทรรศการ งานประจำปีทุ่งศรีเมือง 2565

          เมื่อวันที่ 3-4 ธันวาคม 2565 ณ งานประจำปีทุ่งศรีเมือง ทางอาจารย์กฤษฎา นามบุญเรือง อาจารย์สาขาสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และนักศึกษา จัดนิทรรศการร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC LAB)  ในหัวข้อ “กิจกรรมส่งเสริมการจัดการขยะต้นทาง” โดยทาง FTCDC LAB ได้นำนวัตกรรมการผลิตเส้นใยจากขวดน้ำพลาสติก ใช้เนื้อผ้าผลิตจากขวดพลาสติก Upcycling  ซึ่งเป็นการจัดการขวดพลาสติดที่ได้ตั้งเเต่ต้นทาง

       การนําขวดพลาสติกมาใช้เป็นวัตถุดิบเป็นการช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกผลิตใหม่ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกซึ่งเป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก อีกทั้งการใช้เส้นใยจากขวดพลาสติกยังเป็นการลดใช้เส้นใยจากธรรมชาติอีกด้วย สามารถนำเส้นใยจากขวดพลาสติกมาออกเเบบเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ อาทิ เสื้อยืด เสื้อคอปก กระเป๋า

นิทรรศการ Circular Design โครงการ “อุดรธานี ผ้าทออีสาน Udonthani ISAN Textiles 2022” ของส.อ.ท.อุดรธานี

       สภาอุตสาหกรรมอุดรธานี ร่วมกับ สสปน. จับคู่ธุรกิจยกระดับผ้าทออีสาน สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)จังหวัดอุดรธานี และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรม จับคู่ธุรกิจ โครงการ “อุดรธานี ผ้าทออีสาน Udonthani ISAN textiles 2022 ” ยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสาน วันที่ 27 กันยายน 2565 ที่ ห้องธนากร ชั้น 3 มลทาทิพย์ ฮอลล์ ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้า นานาชาติ จังหวัดอุดรธานี นายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดกิจกรรม 

      โดยมีนายจุมพล ผ่องนัยเลิศ ผู้จัดการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมาชิกสภาอุตสาหกรรม หอการค้า หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ จากจังหวัดอุดรธานี เลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ 5 จังหวัดกลุ่มสบายดี ร่วมงาน พร้อมกิจกรรมเสวนา ” แนวทางการพัฒนาหัตถอุตสากรรมผ้าทออีสานสู่สากล ” โดยอาจารย์อโณทัย สิงห์คำ อาจารย์ประจำสาขาออกเเบบผลิตภัณฑ์ เเละหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทดสอบผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีร่วมเสวนาในครั้งนี้ด้วย

Cr.สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี มอบเกียรติบัตรโครงการ “อุดรธานี ผ้าทออีสาน Udonthani ISAN Textiles 2022”

     เมื่อวันพุธ ที่ 28 กันยายน 2565 เวลา 15.00 น.  พันโทวรายุส์ ตรีวัฒนสุวรรณ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ได้มอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติในการทำความดี มีจิตอาสาให้กับ  นางสาวอโณทัย สิงห์คำ  อาจารย์ประจำสาขาออกเเบบผลิตภัณฑ์เเละหัวหน้าศูนย์ปฎิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าเเละสิ่งทอ  (FTCDC LAB)  พร้อมทั้งนายเอกพันธ์ พิมพาที อาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พร้อมนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 20 คน  ที่ร่วมจัดนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่น เเละนิทรรศการ Circular design  ในโครงการ “อุดรธานี ผ้าทออีสาน Udonthani ISAN Textiles 2022” ที่จัดขึ้นวันที่ 27 กันยายน 2565    ที่ผ่านมาเเล้วนั้น ณ ห้องธนากร ชั้น 3 มลทาทิพย์ ฮอลล์ ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้า นานาชาติ จังหวัดอุดรธานี