FTCDC จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเส้นใยกัญชงผสมฝ้าย

      เมื่อวันที่ 20-21 พฤษภาคม 2566 ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเส้นใยกัญชงผสมฝ้าย เพื่อถ่ายทอดวิธีการทำเส้นใยฝ้ายผสมเส้นใยกัญชงสำหรับการนำมาพัฒนาเป็นแฟชั่นสิ่งทอ โดยมี ดร.วิบูล เป็นสุข รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ร่วมบรรยายให้ความรู้ และการฝึกปฏิบัติการสร้างเส้นใย การทอ และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆให้เเก่กลุ่มเครือข่าย โดย อ.อโณทัย สิงห์คำ และคณะนักออกแบบจากศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์และสิ่งทอ (FTCDC)

FTCDC x TCDC จัดนิทรรศการนวัตกรรมเส้นใยอีสาน

               เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566 (Isan Creative Festival 2023) จัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษา ระหว่างวันที่ 1 – 9 เมษายน 2566 เวลา 11.00 – 21.00 น. ภายใต้ธีม “เติมเต็มถิ่นฐาน ตื่มบ้านตื่มเมือง” หรือ “Regional (enlight) sation”   เพื่อส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรสร้างสรรค์ทั่วภูมิภาคอีสาน พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและสังคม ด้วยการออกแบบ 

               นอกจากนี้ เทศกาลฯ มุ่งเน้นกิจกรรมที่สอดรับกับ 3 อุตสาหรรมสร้างสรรค์ที่โดดเด่นของอีสาน ได้แก่                                   1. อุตสาหกรรมบันเทิงอีสาน (Isan Entertainment)   2. อุตสาหกรรมอาหารอีสาน (Isan Gastronomy)  และ             3. อุตสาหกรรมงานหัตถกรรมอีสาน (Isan Craft & Design) ขณะเดียวกันยังเป็นแพลตฟอร์มต้นแบบในการพัฒนา  ‘ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์’ สู่การเป็น ‘เมืองสร้างสรรค์’ ในระดับประเทศ ที่ยกระดับภูมิภาคอีสานให้  ‘น่าอยู่ น่าลงทุน น่าท่องเที่ยว’ ส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้และโอกาสใหม่ทางธุรกิจ พร้อมผลักดันให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ผ่าน       6 กิจกรรมหลักของเทศกาลฯ จำนวนมากกว่า  100  โปรแกรม 

     สำหรับวันที่ 1-9 เมษายน 2566  เชิญชวนมาชมนวัตกรรมเส้นใยอีสาน จากทีมศูนย์สร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ FTCDC มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มาพบกับพวกเราได้ที่ ชุมชนเจ้าพ่อขุนภักดี ในงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์

#FTCDC #คิด #สร้างสรรค์ #พัฒนา #ยั่งยืน #ISANCREATIVEFESTIVAL #ศรีจันทร์ย่านเก่าเล่าใหม่

พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

       ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอจัดแสดงผลงานการพัฒนาสิ่งทอชุมชน Circular Design โดยอาจารย์อโณทัย สิงห์คำ จาก FTCDC และคุณอิทธิพล และคุณ อุไร สัจจะไพบูลย์ ตัวแทนผู้ประกอบการผ้าและสิ่งทอ กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติบ้านนางามและแบรน์ดหัตถา ซึ่งได้รับการถ่ายทอดการพัฒนาสิ่งทอ และได้รับการรับรอง Circular Design Mark จาก FTCDC ได้นำเสนอรายงานผลการพัฒนาสู่สินค้าสิ่งทอมูลค่าสูง กับท่านพลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ในโอกาสลงตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566  ณ โรงเรียนบ้านหนองบั่วประชาสรรค์ ตำบลสามพร้าว จังหวัดอุดรธานี

TCEB เข้าเยี่ยมชมศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ : FTCDC

           เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566  สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. (อังกฤษ: Thailand Convention & Exhibition Bureau ย่อว่า TCEB)  ซึ่งเป็นหน่วยงานของภาครัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริม อุตสาหกรรม MICE (ไมซ์) ย่อมาจาก Meetings, Incentives, Conventions and Exhibitions ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกและพัฒนามาตรฐานการจัดงานให้สอดคล้องกับบทบาทของไทยที่มีความสำคัญมากขึ้น  ในฐานะเป็นประเทศที่สามารถเป็นที่จัดการประชุมและนิทรรศการระดับนานาชาติได้อย่างมีศักยภาพ เข้าเยี่ยมชม ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ : FTCDC มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ FTCDC เป็นหนึ่งในสถานที่จัดประชุมและนิทรรศการผ้าและสิ่งทอ และพิพิธภัณฑ์ผ้าอีสานให้เป็นที่ศึกษาเรียนรู้ท่องเที่ยววัฒนธรรมผ้าทออีสาน

FTCDC LAB ร่วมออกบูธนิทรรศการ Circular design ในงาน One Province One Product

        เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 ศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้ร่วมจัดบูธนิทรรศการ Circular design ร่วมกับสมาคมเเม่บ้านตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี โดยมี คุณสุมนา กิตติประภัสร์ นายกสมาคมเเม่บ้านตำรวจให้เกียรติมาเป็นประธานในงานครั้งนี้ ณ ตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ตามกำหนดการตรวจเยี่ยมเเละพิจารณาคัดเลือกผลิตภัณฑ์สินค้า ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต 1 จังหวัด 1 ผลิตภัณฑ์ (One Province One Product : OPOP) ของเเม่บ้านตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรภาค 4 

FTCDC LAB ลงพื้นที่พัฒนาผ้าทอพื้นเมืองดงสาร จ.บึงกาฬ

       เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 อาจารย์เอกพันธ์ พิมพาทีเเละทีมงานจากศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าและสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ลงพื้นที่ครั้งที่ 1 กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านดงสาร เพื่อพัฒนาผ้าพื้นเมืองของชาวจ.บึงกาฬ  โดยมีประธานกลุ่มคือ  นางสาวทิพสุดา  เเผ่นทอง เป็นผู้ประสานงาน สำหรับกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Circular design  ปี 2566  เพื่อตรวจเอกสาร  เก็บข้อมูลเเละให้ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design ซึ่งมีความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว 

           กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านดงสาร ใช้ฝ้ายเป็นวัตถุดิบสำหรับการทอและสีย้อมสีธรรมชาติด้วยกรรมวิธีการย้อมเย็นครามด้วย การมัดย้อมเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ รวมไปถึงการทำแพทเทิร์นที่ใช้ตัดเย็บเสื้อผ้าที่ออกแบบให้ทันสมัย และเรียบง่ายสามารถสวมใส่ได้หลากหลายโอกาส  โดยปัจจุบันทางกลุ่มได้นำเศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บมาทำผลิตภัณฑ์  เพื่อให้กระบวนการทอ การตัดเย็บผ้าเหลือเศษผ้าเหลือทิ้งน้อยที่สุด และยังเพิ่มมูลค่าให้แก่เศษวัสดุที่เหลือใช้ อีกทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็มีความโดดเด่น แตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่น