20 กลุ่มชุมชนเข้าร่วมรับฟังบรรยากาศอบรมการยกระดับผ้าทอมืออัตลักษณ์อีสานตอนบนกลุ่มชุมชนรุ่นใหม่สู่ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยกับ FTCDC

        บรรยากาศอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับผ้าทอมืออัตลักษณ์อีสานตอนบนกลุ่มชุมชนรุ่นใหม่สู่ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย  ในวันที่วันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องสุพรรณิการ์ ชั้น 3 ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมีกลุ่มชุมชนกว่า 20 ชุมชนเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย อาทิ กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านสะง้อ กลุ่มผ้าซิ่นทอมือมัดหมี่  กลุ่มทอผ้าฝ้ายขิดยกดอก กลุ่มทอผ้าบ้านโนนงาม ไทพวนบาติก  หอนาง  ร้านงามไทย เป็นต้น 

TCEB เข้าเยี่ยมชมศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ : FTCDC

           เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566  สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. (อังกฤษ: Thailand Convention & Exhibition Bureau ย่อว่า TCEB)  ซึ่งเป็นหน่วยงานของภาครัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริม อุตสาหกรรม MICE (ไมซ์) ย่อมาจาก Meetings, Incentives, Conventions and Exhibitions ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกและพัฒนามาตรฐานการจัดงานให้สอดคล้องกับบทบาทของไทยที่มีความสำคัญมากขึ้น  ในฐานะเป็นประเทศที่สามารถเป็นที่จัดการประชุมและนิทรรศการระดับนานาชาติได้อย่างมีศักยภาพ เข้าเยี่ยมชม ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ : FTCDC มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ FTCDC เป็นหนึ่งในสถานที่จัดประชุมและนิทรรศการผ้าและสิ่งทอ และพิพิธภัณฑ์ผ้าอีสานให้เป็นที่ศึกษาเรียนรู้ท่องเที่ยววัฒนธรรมผ้าทออีสาน

FTCDC จัดพิธีบวงสรวงพระพิฆเนศ โดย พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ

      เมื่อ 13 มกราคม 2566 ศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอได้จัดพิธีบวงสรวงพระพิฆเนศ  (พระสุริยสุทธิปวรศิลป์มหาคเณศ)  ซึ่งมีความหมาย คือ เทพผู้เป็นเจ้าอันประเสริฐ งดงาม บริสุทธิ์  ดุจแสงสว่างแห่งพระอาทิตย์ โดย พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล) ณ ลานพระพิฆเนศ ด้านหน้าศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ : FTCDC มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เพื่อให้เป็นสถานที่สักการะของนักศึกษา บุคลากร และผู้ศรัทธาทั่วไป

หลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก CIRCULAR DESIGN TAG โดยศูนย์สร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ FTCDC

         ศูนย์สร้างสรรค์และออกแบบสิ่งทอ (FTCDC) ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาฉลากเซอคู ล่าร์ดีไซน์(CIRCULAR DESIGN TAG) หรือตราสัญลักษณ์รับรองผลิตภัณฑ์หรือวัสดุตามหลัก CIRCULAR เพื่อรองรับกับความต้องการของตลาดสู่การพัฒนาแบบหมุนเวียน  โดยจะมีคุณสมบัติที่  สามารถฟื้นคืนวัสดุกลับสู่รูปแบบเดิม  และสามารถคงทรัพยากรวัสดุที่อยู่ภายในระบบให้มีคุณภาพ และคุณค่าสูงสุด (Maximize Economic Value) หมุนเวียนเป็นวงจรต่อเนื่องเพื่อจะไม่มีของเสีย (Zero Waste to Landfill) หรือมีของเสียน้อยที่สุด ในฐานะหน่วยงานภาครัฐระดับมหาวิทยาลัย ได้ มีส่วนร่วมต่อแนวคิดนี้โดยการสนับสนุนชุมชนและกลุ่มแปรรูปสิ่งทอเครือข่าย ในโครงการปีที่ผ่านมา (งบประมาณปี 2564) โดยเข้าไป    มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบดูแลการพัฒนากระบวนการผลิตผ้าทอใน หมวดที่ต่างการออกไปตามความเป็นไปได้ของแต่ละกลุ่มชุมชน และผู้ประกอบการในชุมชน เล็งเห็น ความสําคัญและความเป็นไปได้ต่อสถานประกอบการของการพัฒนาตามแนวคิดดังกล่าวเศรษฐกิจ หมุนเวียน โดยตอบรับการเป็นผลิต(ชุมชน)และแปรรูป(SME)สิ่งทอที่ได้จากเศษเหลือทิ้งและเส้นใย ฝ้ายที่ผ่านการรีไซเคิล การเชื่อมโยงนี้ถือเป็นการพัฒนาต้นน้ำที่จะก่อให้เกิดการเติบโตที่เป็นไปได้ ในทางที่มีความสมดุลในทุกด้านไม่เพียงแต่เฉพาะด้านการจัดการวัสดุเหลือทิ้งเท่านั้น แต่ยังคํานึงถึง มิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

          โครงการฯ จัดให้มีตราสัญลักษณ์รับรองผลิตภัณฑ์หรือวัสดุตามหลัก CIRCULAR จำนวน 3 รูปแบบโดยแบ่ง ดังนี้ 1. ฉลากเศรษฐกิจหมุนเวียนเขียว 2. ฉลากเศรษฐกิจหมุนเวียนทอง 3. ฉลากเศรษฐกิจหมุนเวียนโรสโกลว์ ฉลากทั้ง 3 นี้ สามารถออกให้กับผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ตกแต่ง เคหะสิ่งทอ(Home Textile) เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ที่รองจาน ของที่ระลึก ที่ผ่านหลักเกณฑ์ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์และการตรวจสอบสถานที่ตามประกาศของโครงการฯ และได้รับการอนุมัติจาก คณะกรรมการกำกับโครงการฉลากเซอร์คู่ลาร์ (circular design tag)

FTCDC LAB X สาขาสิ่งแวดล้อม คณะวิทย์ฯ มร.อด.จัดนิทรรศการ งานประจำปีทุ่งศรีเมือง 2565

          เมื่อวันที่ 3-4 ธันวาคม 2565 ณ งานประจำปีทุ่งศรีเมือง ทางอาจารย์กฤษฎา นามบุญเรือง อาจารย์สาขาสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และนักศึกษา จัดนิทรรศการร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC LAB)  ในหัวข้อ “กิจกรรมส่งเสริมการจัดการขยะต้นทาง” โดยทาง FTCDC LAB ได้นำนวัตกรรมการผลิตเส้นใยจากขวดน้ำพลาสติก ใช้เนื้อผ้าผลิตจากขวดพลาสติก Upcycling  ซึ่งเป็นการจัดการขวดพลาสติดที่ได้ตั้งเเต่ต้นทาง

       การนําขวดพลาสติกมาใช้เป็นวัตถุดิบเป็นการช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกผลิตใหม่ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกซึ่งเป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก อีกทั้งการใช้เส้นใยจากขวดพลาสติกยังเป็นการลดใช้เส้นใยจากธรรมชาติอีกด้วย สามารถนำเส้นใยจากขวดพลาสติกมาออกเเบบเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ อาทิ เสื้อยืด เสื้อคอปก กระเป๋า

ศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC) มร.อด. ร่วมเป็นเจ้าภาพโรงทานเเละร่วมงานกฐินพระราชทาน 2565

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 อาจารย์เอกพันธ์  พิมพาที อาจารย์ประจำสาขาออกเเบบผลิตภัณฑ์พร้อมทั้งบุคลากรทีมงานศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  ร่วมเป็นเจ้าภาพโรงทานน้ำชามะนาวบรรจุขวด  จำนวน 100 ขวด   เเละร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 วัดศรีสระเเก้วพระอารามหลวง อ.เมืองหนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภู

นิทรรศการ Circular Design โครงการ “อุดรธานี ผ้าทออีสาน Udonthani ISAN Textiles 2022” ของส.อ.ท.อุดรธานี

       สภาอุตสาหกรรมอุดรธานี ร่วมกับ สสปน. จับคู่ธุรกิจยกระดับผ้าทออีสาน สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)จังหวัดอุดรธานี และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรม จับคู่ธุรกิจ โครงการ “อุดรธานี ผ้าทออีสาน Udonthani ISAN textiles 2022 ” ยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสาน วันที่ 27 กันยายน 2565 ที่ ห้องธนากร ชั้น 3 มลทาทิพย์ ฮอลล์ ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้า นานาชาติ จังหวัดอุดรธานี นายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดกิจกรรม 

      โดยมีนายจุมพล ผ่องนัยเลิศ ผู้จัดการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมาชิกสภาอุตสาหกรรม หอการค้า หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ จากจังหวัดอุดรธานี เลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ 5 จังหวัดกลุ่มสบายดี ร่วมงาน พร้อมกิจกรรมเสวนา ” แนวทางการพัฒนาหัตถอุตสากรรมผ้าทออีสานสู่สากล ” โดยอาจารย์อโณทัย สิงห์คำ อาจารย์ประจำสาขาออกเเบบผลิตภัณฑ์ เเละหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทดสอบผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีร่วมเสวนาในครั้งนี้ด้วย

Cr.สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี มอบเกียรติบัตรโครงการ “อุดรธานี ผ้าทออีสาน Udonthani ISAN Textiles 2022”

     เมื่อวันพุธ ที่ 28 กันยายน 2565 เวลา 15.00 น.  พันโทวรายุส์ ตรีวัฒนสุวรรณ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ได้มอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติในการทำความดี มีจิตอาสาให้กับ  นางสาวอโณทัย สิงห์คำ  อาจารย์ประจำสาขาออกเเบบผลิตภัณฑ์เเละหัวหน้าศูนย์ปฎิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าเเละสิ่งทอ  (FTCDC LAB)  พร้อมทั้งนายเอกพันธ์ พิมพาที อาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พร้อมนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 20 คน  ที่ร่วมจัดนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่น เเละนิทรรศการ Circular design  ในโครงการ “อุดรธานี ผ้าทออีสาน Udonthani ISAN Textiles 2022” ที่จัดขึ้นวันที่ 27 กันยายน 2565    ที่ผ่านมาเเล้วนั้น ณ ห้องธนากร ชั้น 3 มลทาทิพย์ ฮอลล์ ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้า นานาชาติ จังหวัดอุดรธานี

นิทรรศการและการเสวนาวิชาการการเผยแพร่ฯ (Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2022-2023)

     เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565  นายชาย นครชัย  อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม  เวลา 13.00 น. กล่าวเปิดการเสวนาทางวิชาการและนิทรรศการ โครงการจัดแสดงผลงานองค์ความรู้การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ณ ห้องประชุม  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  โดยมี  ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี , ผศ.ดร.ธีระยุทธ์ เพ็งชัย รองอธิการบดี ร่วมให้การต้อนรับนิทรรศการและการเสวนาวิชาการการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้จากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย (Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2022-2023)  

       การเสวนาโดยนักออกแบบและอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นและสิ่งทอ ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน, อ.ดร.กรกลด คำสุข เเละนายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข  ในรูปแบบการจัดนิทรรศการ และการเสวนาวิชาการการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้จากหนังสือแนวโน้มและทิศทาง ผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ 2 (Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2022-2023) สัญจร 3 ครั้ง ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ยะลา และอุดรธานี ซึ่งในช่วงวันที่ 25-26 สิงหาคม 2565 จัดนิทรรศการ ณ บริเวณชั้น 1 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เวลา 10.00 – 15.00 น.

สุดปัง! FiFT2022 “แฟชั่น นวัตกรรมผ้าและสิ่งทอชุมชน ครั้งที่ 3” ผ้าทอชุมชนสู่สากล

         เปิดแล้วอย่างเป็นทางการ  กับงานแฟชั่นโชว์ผ้าทอมือสุดอลังการ “แฟชั่น นวัตกรรมผ้าและสิ่งทอชุมชน ครั้งที่ 3 FiFT2022 : Fashion & Innovation in Fabric and Textiles 2022 ซึ่งจัดโดยศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หรือ FTCDC : Fabric and Textile Creative Design Center เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ณ ลานโปรโมชั่น ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าอุดรธานี  โดยมีนายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานกล่าวเปิดงานมี ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี มรภ.อุดรธานี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด ผู้ให้การสนับสนุน และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมในพิธีเปิดงานสุดชื่นมื่น 

         ผศ.ดร.ธีระยุทธ์ เพ็งชัย รองอธิการบดี ในนามประธานศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าวรายงานว่า ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หรือ FTCDC (Fabric and Textile Creative Design Center) ได้จัดตั้งขึ้นด้วยพันธกิจของการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  มีเป้าหมายในการอนุรักษ์เชิงพัฒนา และยกระดับผ้าทอมือในชุมชนสู่ความเป็นสากล ด้วยการบูรณาการภูมิปัญญาดั้งเดิมในวัฒนธรรมการทอผ้าของชุมชนอีสาน กับการพัฒนาด้วยนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ตั้งแต่ต้นน้ำ  กลางน้ำ ปลายน้ำ เป็นการยกระดับและสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองของชุมชนถิ่นอย่างยั่งยืน รวมถึงการสร้างพิพิธภัณฑ์ผ้าทออีสาน เพื่ออนุรักษ์และการเผยแพร่วัฒนธรรม ภูมิปัญญา องค์ความรู้ผ้าทอพื้นเมือง โดยการจัดงาน FiFT2022 มีแนวคิดการจัดงาน “ชุมชนเพิ่มมูลค่าด้วย Circular Design”

      โดยได้รับเกียรติจาก อแมนด้า ออบดัม มิสยูนิเวริ์สไทยแลนด์ 2020 และนักแสดงหนุ่มหล่อ ฟิล์ม ธนภัทร กาวิละ มาแสดงแบบชุด Finale´ สร้างสีสันให้กับงาน ในวันที่ 2 ก.ค. 65 เป็นการเดินแบบของกลุ่ม Celebrity และในวันที่ 3 ก.ค. 65 เป็นการเดินแบบโดยกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

     กำหนดจัดงาน 3 วัน ระหว่างวันที่ 1-3 กรกฎาคม 2565 มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายแบ่งเป็น 3 กิจกรรม ดังนี้

  1. กิจกรรมการแสดงแฟชั่นโชว์สุดตระการตา ซึ่งชุดที่ใช้ในการแสดง เป็นผลงานการสร้างสรรค์ออกแบบ   ตัดเย็บ โดยศูนย์ FTCDC ภายใต้แนวคิด สิ่งทอ “ชุมชนเพิ่มมูลค่าด้วย Circular Design” จำนวน 50 ชุด
  2. นิทรรศการนวัตกรรมผ้าและสิ่งทอชุมชน 
  3. การจำหน่ายสินค้าผ้าทอชุมชนจากการพัฒนาของศูนย์ฯ ผ้าทอ FTCDC ระดับพรีเมียม กว่า 30 บูท

นอกจากนี้ยังมีการแสดงดนตรีศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายตลอดงาน โดยมีกำหนดจัดงาน 3 วัน ระหว่างวันที่ 1-3 กรกฎาคม 2565 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอุดรธานี