FTCDC ลงพื้นที่กลุ่ม Hattra อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี July 17, 2023 by Mukarin Circular designftcdcลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 อ.อโณทัย สิงห์คำ และทีมงานจากศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ FTCDC ได้ลงพื้นที่กลุ่ม Hattra ต.หนองแวง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และติดตามการพัฒนาสิ่งทอนวัตกรรมสร้างสรรค์ภายใต้กิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Circular design ปี 2566 โดยมีคุณอิทธิพลและคุณอุไร ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ของกลุ่มสู่ตลาด โปรดติดตามผลงานเปิดตัวในงาน FiFt2023 กลางปีนี้แน่นอน#FTCDC #คิด #สร้างสรรค์ #พัฒนา #ยั่งยืน
FTCDC LAB ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านดงสาร ครั้งที่ 2 จ.บึงกาฬ January 16, 2023 by Mukarin Circular designFTCDCLABความรู้ลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 อาจารย์เอกพันธ์ พิมพาที (อาจารย์ประจำสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์และผู้เชี่ยวชาญด้าน Circular design) ได้บรรยายเรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานการทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามหลัก Circular design tag โดยให้คำปรึกษาวิธีการ และหลักเกณฑ์มาตรฐานการทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามหลัก Circular design tag เเละจัดกิจกรรม work shop ร่วมกับชุมชนผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเศษวัสดุเหลือใช้ โดยวิธีการทอผ้าแบบโบราณ การนำเศษผ้าหรือเศษวัสดุเหลือใช้ของทางกลุ่มมาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยแนะนำการดีไซน์ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าที่นำมาต่อกัน ในการผลิตผลิตภัณฑ์ตามหลัก Circular design tag ในเรื่องการออกแบบและการผลิต โดยผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกแบบตามหลักการจะสามารถเพิ่มประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์จะมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เช่น ออกแบบให้สามารถถอดประกอบออกนำไปใช้ได้หลายรูปแบบให้รีไซเคิลได้ง่าย ลักษณะผลิตภัณฑ์เป็นโมลดู ออกแบบให้ใช้งานได้นานมีความร่วมสมัย ออกแบบที่ใช้วัสดุน้อยแต่มีประโยชน์ใช้งานได้ดี เป็นต้น
FTCDC LAB ร่วมกับดร.พีรพร พละพลีวัลย์ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านเชียง-ส.หงษ์แดง ภายใต้กิจกรรม Circular design 2566 December 27, 2022 by Mukarin Circular designFTCDCLABลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ที่ผ่านมา ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ ผู้เชี่ยวชาญเเละที่ปรึกษาศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พร้อมทั้งนายเอกพันธ์ พิมพาทีอาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ เเละทีมงานจากศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าและสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ลงพื้นที่ครั้งที่ 2 สำหรับกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านเชียง-ส.หงษ์แดง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี มีจำนวนสมาชิกประมาณ 10-15 คน โดยมีประธานกลุ่มคือ นายสมบัติ มัญญะหงส์ เป็นผู้ประสานงาน สำหรับกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Circular design ปี 2566 เพื่อให้คำเเนะนำการดำเนินงาน การเลือกใช้วัตถุดิบหลักรวมทั้งการออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design ชุมชนบ้านเชียงถือเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดอุดรธานี ตามรอยอารยธรรมบ้านเชียงในหมู่บ้านแห่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ มาชมวิถีชีวิตชาวไทพวนรูปแบบต่าง ๆ และกิจกรรมการท่องเที่ยวเสริมสร้างการเรียนรู้ถ่ายทอดโดยปราชญ์วัฒนธรรม ดังนั้นขวดน้ำพลาสติกเมื่อนักท่องเที่ยวมาจึงมีความแปรผันกับจำนวนของนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน ปัจจุบันมีการจัดการแยกขยะเพื่อนำขวดพลาสติกดังกล่าวไปขายสร้างรายได้ หรือแยกขยะไว้สำหรับรีไซเคิลทางด้านต่างๆ ทางคณะทำงานได้เเลกเปลี่ยนความรู้ เรื่องหลักการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จากของเสีย โดยลดการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับชุมชนเเล้ว ทางกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านเชียง-ส.หงษ์แดงมีความสนใจในการ นำโอกาสเรื่องดังกล่าวมาเป็นเป้าหมายของกลุ่มในการนำนวัตกรรมการทำเส้นใยพลาสติกจากขวดพลาสติกมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์ สอดคล้องกับเเนวคิด Circular design เพื่อให้เป็นสิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเเละยกระดับผ้าทอได้อย่างยั่งยืน Click here เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ : 086-2217268 (คุณสมบัติ)
ดร.พีรพร ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านเชียงหวาง จ.อุดรธานีร่วมกับ FTCDC LAB มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี December 26, 2022 by Mukarin Circular designFTCDCLABลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ ผู้เชี่ยวชาญเเละที่ปรึกษาศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พร้อมทั้งอาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ เเละทีมงานจากศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าและสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ลงพื้นที่่กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านเชียงหวาง ต.เชียงหวาง อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี โดยมีประธานกลุ่มคือ นางสาววิมล เเก้วเชียงหวาง เป็นผู้ประสานงาน สำหรับกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Circular design ปี 2566 โดย ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายเเละเเลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเทคนิคการออกเเบบ หลักการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จากของเสีย รวมทั้ง ตามเเนวคิดเชิงนิเวศเศรษฐกิจ Circular design tag เพื่อให้คำเเนะนำการดำเนินงาน การเลือกใช้วัตถุดิบหลักรวมทั้งการออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design
FTCDC LAB ลงพื้นที่กลุ่ม ITTHI จ.บึงกาฬ กิจกรรม Circular design 2566 December 26, 2022 by Mukarin Circular designFTCDCLABลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2565 ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ วิทยากรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเเละที่ปรึกษาหลักการเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนให้มีมาตรฐานการรับรองตามเเนวคิดเชิง Circular design พร้อมทั้งนายเอกพันธ์ พิมพาทีอาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ เเละทีมงานจากศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าและสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ลงพื้นที่กลุ่ม ITTHI (กลุ่มผ้าทอสองมือพิมพ์เเละกลุ่มสไบนาง) ต.หอคำ อ.เมือง จ.บึงกาฬ โดยมีประธานกลุ่มคือ นายอิทธิกร อินทร์เเสงเเละ นางเสถียร ชัยมี เป็นผู้ประสานงาน สำหรับกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Circular design ปี 2566 เพื่อสังเกตการณ์การดำเนินงานของกลุ่ม พร้อมเก็บข้อมูลเเละให้ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design ซึ่งมีความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายเเละเเลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเทคนิคการออกเเบบ หลักการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จากของเสีย โดยลดการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับชุมชน ตามเเนวคิดเชิงนิเวศเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีการพัฒนาขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาซึ่งได้รับการพัฒนายุทธศาสตร์สอดคล้องกับแนวทางในประเทศเเละหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design tag การตรวจสอบผลิตภัณฑ์และหลักเกณฑ์การตรวจผลิตภัณฑ์เพื่อให้กลุ่ม ITTHI (กลุ่มผ้าทอสองมือพิมพ์เเละกลุ่มสไบนาง) ได้เรียนรู้ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาเเละยกระดับผ้าทอ อีกทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนอย่างยั่งยืน Click here เบอร์โทรติดต่อ : 063-7266269 (คุณอิทธิกร)
FTCDC LAB ลงพื้นที่กลุ่มทอเสื่อกกบ้านแม่นนท์ฯ ร่วมกับ ดร.พีรพร ภายใต้โครงการ Circular design 2566 December 22, 2022 by Mukarin Circular designFTCDCLABลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 อาจารย์อโณทัย สิงห์คำ อาจารย์ประจำสาขาออกเเบบเเละหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าและสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีร่วมกับ ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ วิทยากรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเเละที่ปรึกษาหลักการเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนให้มีมาตรฐานการรับรองตามเเนวคิดเชิง Circular design ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอเสื่อกกบ้านแม่นนท์ ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีประธานกลุ่มคือ นางอ้อยอัจฉรา สรวงศิริ เป็นผู้ประสานงาน สำหรับกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Circular design ปี 2566 เพื่อสังเกตการณ์การดำเนินงานของกลุ่ม พร้อมเก็บข้อมูลเเละให้ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design ซึ่งมีความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ดร.พีรพร พละพลีวัลย์ ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายเเละเเลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเทคนิคการออกเเบบ หลักการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จากของเสีย โดยลดการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับชุมชน ภายใต้เเนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เเละหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design tag การตรวจสอบผลิตภัณฑ์และหลักเกณฑ์การตรวจผลิตภัณฑ์เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอเสื่อกกบ้านแม่นนท์ได้เรียนรู้ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาเเละยกระดับเคหะสิ่งทอ ผ้าทอเพื่อนเพิ่มมูลค่าให้เเก่ผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน Click here
FTCDC LAB ลงพื้นที่พัฒนาผ้าทอพื้นเมืองดงสาร จ.บึงกาฬ December 16, 2022 by Mukarin Circular designFTCDCLABลงพื้นที่เครื่อข่าย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 อาจารย์เอกพันธ์ พิมพาทีเเละทีมงานจากศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าและสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ลงพื้นที่ครั้งที่ 1 กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านดงสาร เพื่อพัฒนาผ้าพื้นเมืองของชาวจ.บึงกาฬ โดยมีประธานกลุ่มคือ นางสาวทิพสุดา เเผ่นทอง เป็นผู้ประสานงาน สำหรับกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Circular design ปี 2566 เพื่อตรวจเอกสาร เก็บข้อมูลเเละให้ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design ซึ่งมีความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านดงสาร ใช้ฝ้ายเป็นวัตถุดิบสำหรับการทอและสีย้อมสีธรรมชาติด้วยกรรมวิธีการย้อมเย็นครามด้วย การมัดย้อมเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ รวมไปถึงการทำแพทเทิร์นที่ใช้ตัดเย็บเสื้อผ้าที่ออกแบบให้ทันสมัย และเรียบง่ายสามารถสวมใส่ได้หลากหลายโอกาส โดยปัจจุบันทางกลุ่มได้นำเศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บมาทำผลิตภัณฑ์ เพื่อให้กระบวนการทอ การตัดเย็บผ้าเหลือเศษผ้าเหลือทิ้งน้อยที่สุด และยังเพิ่มมูลค่าให้แก่เศษวัสดุที่เหลือใช้ อีกทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็มีความโดดเด่น แตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่น
กลุ่มมูลมัง-ผ้าไทย จ.หนองบำลำภู ร่วมกิจกรรมกับ FTCDC LAB มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี December 12, 2022 by Mukarin Circular designFTCDCLABลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2565 อาจารย์เอกพันธ์ พิมพาทีเเละทีมงานจากศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าและสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ลงพื้นที่ครั้งที่ 1 กลุ่มมูลมัง-ผ้าไทย ต.ป่าไม้งาม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู โดยมีประธานกลุ่มคือ นางสาวสรชนก สุกันหา เป็นผู้ประสานงาน สำหรับกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Circular design ปี 2566 เพื่อตรวจเอกสาร เก็บข้อมูลเเละให้ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design ซึ่งมีความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว สำหรับผ้าของกลุ่มมูลมัง-ผ้าไทย จะมีลายที่เป็นเอกลักษณ์อย่าง ผ้าหมี่ลายโบราณ เป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่อัตลักษณ์ความโบราณเเละประยุกต์ความทันสมัยเข้าด้วยกัน โดยลวดลายที่โดดเด่นประจำกลุ่มทอผ้าบ้านนากลาง คือ ลายนาคต้นสน และลายดอกบัว กระบวนการย้อมในแบบดั้งเดิม คือการหมักโคลนและการใช้สีจากวัตถุดิบธรรมชาติในท้องถิ่น เช่น เปลือกไม้ และใบไม้ ทำให้พื้นผ้ามีสีสันสวยงามและสีไม่ตก และใช้วัตถุดิบธรรมชาติอย่างฝ้ายและไหมเป็นวัตถุดิบหลัก ที่มีในท้องถิ่น เช่น มะเกลือ ก็มีการปรับโทนสีให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ และความต้องการของท้องตลาดของกลุ่มผู้บริโภคที่มีความหลากหลาย รวมทั้งยังนํามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ที่สามารถนำมาสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงามและทันสมัย Click here
FTCDC LAB โดยอ.เอกพันธ์ ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านเชียงฯ กิจกรรม Circular design 2566 December 12, 2022 by Mukarin Circular designFTCDCLABลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565 อาจารย์เอกพันธ์ พิมพาทีเเละทีมงานจากศูนย์ปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ผ้าและสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ลงพื้นที่ครั้งที่ 1 กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านเชียง-ส.หงษ์เเดง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี โดยมีประธานกลุ่มคือ นายสมบัติ มัญญะหงษ์เป็นผู้ประสานงาน สำหรับกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Circular design ปี 2566 เพื่อตรวจเอกสาร เก็บข้อมูลเเละให้ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอรับรองฉลาก Circular design ซึ่งมีความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านเชียง-ส.หงษ์แดง เป็นการทอผ้าพื้นเมืองย้อมครามโดยมีอิทธิพลมาจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงการประยุกต์ลวดลายจากภาชนะดินเผาบ้านเชียง วัฒนธรรมพื้นเมืองในท้องถิ่น ของชุมชนไทพวนที่ถักทอเองและตัดเย็บสวมใส่เอง โดยตั้งในชุมชนซึ่งใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงซึ่งเป็นมรดกโลก แหล่งโบราณคดีที่มีอายุกว่า 5,000 ปี ส่วนใหญ่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นผ้าซิ่นมัดหมี่ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ กระเป๋า ชุดสำเร็จรูปสุภาพสตรีเเละสุภาพบุรุษ Click here
หัวหน้าศูนย์ FTCDC LAB อ.อโณทัยเข้าลงพื้นที่กลุ่ม Hattra OTOP 5 ดาว จ.อุดรธานี โครงการ Circular design 2566 December 10, 2022 by Mukarin Circular designFTCDCLABลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565 อาจารย์อโณทัย สิงห์คำ อาจารย์ประจำสาขาออกเเบบผลิตภัณฑ์เเละหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC LAB) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พร้อมกับอาจารย์เบญจพร ครุฑกุล อาจารย์ประจำสาขาออกเเบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้ลงพื้นที่กลุ่ม Hattra ต.หนองแหวง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ภายใต้กิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Circular design ปี 2566 ที่มาของสัญลักษณ์ของ “Hattra” คือมือที่มีพลังแห่งการสร้างสรรค์ และความประณีตบรรจงเป็นเสน่ห์ที่เครื่องจักรกลไม่อาจเทียบเท่าสองมือของเราได้ ผนวกเข้ากับความอบอุ่นจริงใจและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมกลายมาเป็นสินค้าที่มีความสวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และดีต่อสุขภาพของผู้สวมใส่ ปัจจุบันทางกลุ่มมีการพัฒนาผ้าฝ้ายทอมือโดยร่วมกับทางศูนย์ออกเเบบสร้างสรรค์ผ้าเเละสิ่งทอ (FTCDC) ผสมผสานกรรมวิธีทอผ้าที่หลากหลาย จนกลายเป็นผ้าฝ้ายแกมไหมย้อมสีธรรมชาติ “เบญจวิถี” ซึ่งเป็นผ้าทอมือที่สวยงาม โดยใช้กรรมวิธี 5 เทคนิค ที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม ยังมีผลิตภัณฑ์รีไซเคิล100% โดยการเริ่มคัดแยกเศษจากการตัดเย็บ และเศษเหลือจากกระบวนการทอ เช่น เศษผ้าเป็นชิ้น เศษด้ายหัวม้วน เศษจากการตัดเย็บ ภายในการผลิตสินค้าของแบรนด์ สินค้าของทางกลุ่มนั้นได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ใน Thai Lifestyle Collection ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ และศรีวารี กลุ่ม Hattra ถือว่าเป็นกลุ่มมีศักยภาพที่สามารถยันยืนสู่สากลได้โดยใช้การพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อขับเคลื่อนด้านการผลิต ด้านการใช้งาน ด้านการจัดการขยะ รวมทั้งด้านการออกแบบ โดยใส่นวัตกรรมที่มีกลไกของความยั่งยืนเข้าไปจะช่วยให้สินค้าทำงานได้ดีขึ้น ไม่ใช่แค่เป็นสินค้าสีเขียว แต่สร้างมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ได้ Click here